หลักสูตร
ความหมายของหลักสูตร
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2554:6) วิเคราะห์ความหมายของหลักสูตรซึ่งโอลิวา (Oliva, 2009:3) ให้ไว้
พบว่าความหมายที่แคบของหลักสูตรคือ วิชาที่สอน
ส่วนความหมายที่กว้างของหลักสูตรคือ
มวลประสบการณ์ทั้งหลายที่จัดให้กับผู้เรียน
ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ซึ่งเป็นทั้งทางตรงและทางอ้อม
ตารางสังเคราะห์หลักสูตร ความหมาย
วิชัย วงษ์ใหญ่
|
กาญจนา
คุณารักษ์
|
คาสเวลและแคมเบล
|
กู๊ด
|
อิสริยา วิริยะเศรษฐ์กุล
|
(2554:6) วิเคราะห์ความหมายของหลักสูตรซึ่งโอลิวา
(Oliva, 2009:3) ให้ไว้ พบว่าความหมายที่แคบของหลักสูตรคือ
วิชาที่สอน ส่วนความหมายที่กว้างของหลักสูตรคือ
มวลประสบการณ์ทั้งหลายที่จัดให้กับผู้เรียน ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
ซึ่งเป็นทั้งทางตรงและทางอ้อม
|
(2553 : 38) หลักสูตรคือ
โครงการหรือแผน หรือข้อกำหนด อันประกอบด้วยหลักการ จุดหมาย โครงสร้าง
กิจกรรมและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆในการจัดการเรียนการสอนที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้
ความสามารถและประสบการณ์ โดยส่งเสริมให้เอกัตบุคคลไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนเอง
รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ในสังคม
และในโลกอย่างมีคุณภาพและอย่างมีความสุข
|
(Caswell and Cambell, 1935 : 66) ได้ให้คำจำกัดความว่า
หลักสูตรเป็นสิ่งที่ประกอบด้วยประสบการณ์ทั้งมวลของเด็ก ภายใต้การแนะแนวของครู
|
(Good,
1973 : 157) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ 3 ประการ ดังนี้ คือ
1. หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาวิชาที่จัดไว้เป็นระบบให้ผู้เรียนได้ศึกษา เพื่อสำเร็จหรือรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาหนึ่ง 2. หลักสูตร หมายถึง เค้าโครงสร้างทั่วไปของเนื้อหาหรือสิ่งเฉพาะที่จะต้องสอน ซึ่งโรงเรียนจัดให้แก่เด็กเพื่อให้สำเร็จการศึกษาและสามารถเข้าศึกษาต่อในทางอาชีพต่อไป 3. หลักสูตร หมายถึง กลุ่มวิชาและการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียนภายใต้การแนะนำของโรงเรียนและสถานศึกษา |
หลักสูตร คือ
การวางโครงสร้างแบบแผนสำหรับการเรียนรู้
ทำให้ผู้เรียนทราบถึงสิ่งที่จะได้เรียนรู้ในรายวิชานั้น
ๆ นำไปสู่การเรียนที่นำสิ่งรอบตัวและประสบการณ์ต่าง ๆมาประยุกต์ปรับใช้ในการเรียนให้สอดคล้องกับสิ่งที่จะศึกษาทั้งภายในห้องเรียน
และภายนอกห้องเรียน นอกจากนี้หลักสูตรยังสามารถนำไปพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น