การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) ของสุเทพ อ่วมเจริญ
การออกแบบหลักสูตร ตรงกับแนวคิดจากคำถามข้อที่ 2 ของไทเลอร์ คือการเลือกประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Tyler , 1949 : 63 อ้างถึงในสุเทพ อ่วมเจริญ 2557 : 56) ผู้จัดทำได้ทำการศึกษาออร์นสไตน์ และฮันกิน (Ornstein and Hunkins , 1998 : 264 อ้างถึงในสุเทพ อ่วมเจริญ 2557 : 58 - 59) โดยเน้นการออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา (Subject – center Design) โดยอาศัยปรัชญาการศึกษาที่สำคัญคือ สารัตถะนิยม (Essentialism) และนิรันตรนิยม (Perennialism) ได้แก่ หลักสูตรแบบรายวิชา (subject design) หลักสูตรแบบสาขาวิชา (discipline design) หลักสูตรหมวดวิชา (broad fields design) หลักสูตรสัมพันธ์วิชา (correlation design) หลักสูตรเน้นกระบวนการ (process design) ผู้จัดทำเน้นศึกษาในหลักสูตรแบบรายวิชา (subject design)
นอกจากนี้ทำการศึกษาหลักการออกแบบหลักสูตรมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ที่ได้เสนอหลักการที่ส่งเสริมความเป็นเลิศในการเรียนการสอนไว้ว่า สถาบันการศึกษาจะจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้สัมพันธ์กับกิจกรรมการสอนจะสะท้อนผลการเรียนรู้ในทางบวก อันเป็นผลต่อทักษะ ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมของผู้เรียน โดยมีหลักการ (Principles) ต่อไปนี้
1. สร้างสรรค์ประสบการณ์ทางการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม มีแรงจูงใจและมีแรงกระตุ้นปัญญา
2. ส่งเสริมสนับสนุนให้รู้จักการสืบเสาะค้นหาและตั้งคำถามอย่างมีวิจารณญาณและส่งเสริมการสรรค์สร้างอย่างมีความคิดสร้างสรรค์โดยมีพื้นฐานอยู่บนผลการวิจัยที่เป็นปัจจุบัน
3. เน้นความสำคัญ ความเกี่ยวโยงและการบูรณาการทฤษฎีและองค์ความรู้ด้วยการปฏิบัติอย่างเป็นมืออาชีพเพื่อพัฒนาให้กับการแก้ปัญหาที่นำไปใช้จริง
4. ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่พัฒนาความสามารถระหว่างวัฒนธรรมที่ผู้เรียนมีความแตกต่างกันทั้งด้านสังคมและการตอบสนองทางจริยธรรมของสังคมโลก
5. คุณค่าและความทรงจำของแต่ละบุคคลและวัฒนธรรมที่หลากหลาย นำมาเป็นมาตรการในบริบทของการสนับสนุนและเกี่ยวข้องกับผู้เรียน
6. การเพิ่มการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียนมีผลต่อประสิทธิผลของหลักสูตร การสอนและกลยุทธของการประเมิน
7. การปรับปรุงการสอนอย่างต่อเนื่องเป็นการพัฒนาวิชาชีพ
รวมทั้งศึกษาการออกแบบหลักสูตรรายวิชา เวสมินส์เตอร์ เอ็กเชงจ์ มหาวิทยาลัยเวสมินต์เตอร์ ให้ข้อเสนอแนะในการออกแบบหลักสูตรรายวิชา (Course design) โดยตอบคำถามดังต่อไปนี้
1. ผู้ออกแบบคาดหวังว่าอะไรที่ช่วยให้หลักสูตรนี้ประสบความสำเร็จ
2. สถาบันการศึกษาหรือสิ่งแวดล้อมภายนอกอะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่อหลักสูตรรายวิชา
3. การประกันคุณภาพมีความสัมพันธ์กับหลักสูตรอย่างไร
4. อะไรเป็นแบบจำลองที่ตรงกับความประสงค์ในการออกแบบหลักสูตร
5. อะไรเป็นจุดหมายและผลการเรียนรู้ของหลักสูตร
6. การประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างไร
7. อะไรเป็นกลยุทธในการเรียนรู้ การสอนและการประเมิน
8. จะต้องปรับพื้นฐานความรู้ก่อนที่จะเรียนรายวิชาหรือไม่
9. จะส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไร การวางแผนพัฒนาผู้เรียนในการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างไร
10. หลักสูตรจะพัฒนาผู้เรียนที่มีความหลากหลายหรือไม่
เมื่อผู้จัดทำศึกษาการออกแบบหลักสูตรดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว นำมากำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และ เป้าหมายในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างวิจารณญาณ รายวิชา วรรณกรรมศึกษา (Literature Studies)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น