นิยาม ความหมายหลักสูตร
สุเทพ อ่วมเจริญ
 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปสุเทพ อ่วมเจริญ

ผศ.ดร.สุเทพ อ่วมเจริญ
Asst. Prof.Sutep Uamcharoen
ตำแหน่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์
สังกัด : สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศภาควิชาหลักสูตร
และวิธีสอนคณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สุเทพ อ่วมเจริญ (2555:4) สรุปว่าหลักสูตร หมายถึง ศาสตร์ที่เรียนรู้เพื่อนำไปกำหนดวิถีทางที่นำไปสู่การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้

        หลักสูตรคือ  กิจกรรมต่างๆ  ที่จัดขึ้นภายในและภายนอกโรงเรียน  เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ก่อนล่วงหน้า  (Tyler. 1949 ; Smith. 1996  อ้างถึงในสุเทพ  อ่วมเจริญ 2557 : 1 - 2)
การพัฒนาหลักสูตร  ผู้จัดทำศึกษากระบวนการพัฒนาหลักสูตร  ตามหลัก SU Model ซึ่งประกอบด้วย  การศึกษาข้อมูลอย่างน้อย  3 ด้านได้แก่  ด้านปรัชญาการศึกษา  ด้านจิตวิทยา  และด้านสังคม  ดังภาพประกอบ
พื้นฐานแนวคิดและที่มาของแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model เริ่มจากสามเหลี่ยมมุมบนซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร  มาจากการที่หม่อมหลวงปิ่น  มาลากุล  อธิการบดีและรักษาการคณบดีคณะศึกษาศาสตร์  ได้ให้แนวนโยบายการพัฒนานักศึกษา  มุ่งเน้นให้การศึกษา  3  ส่วนคือจริยศึกษา  เป็นการอบรมศีลธรรมอันดีงาม  พุทธิศึกษา  ให้ปัญญาความรู้  และพลศึกษาเป็นการฝึกหัดให้เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์  แนวคิดดังกล่าวนี้เมื่อนำมาพิจารณากับเป้าหมายของการศึกษาที่มุ่งการเป็นคนดี  คนเก่งและมีความสุข  สอดคล้องกับเป้าหมายของการหลักสูตรที่ว่า
เป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งให้ความรู้  (Knowledge)  คือมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง 
เป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน  (Learner)  คือมุ่งพัฒนาให้เป็นคนดี 
เป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งสังคม  (Society)  คือมุ่งหวังให้สังคมเป็นสุข 
ซึ่งกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้ความสำคัญกับพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร  3  ด้านได้แก่  ด้านปรัชญาการศึกษา  ด้านจิตวิทยา  และด้านสังคม 
สำหรับการศึกษาในเรื่องทฤษฎีออกแบบหลักสูตร  ผู้จัดทำได้ทำการศึกษาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนหลักสูตรได้แก่  พื้นฐานทางปรัชญา  พื้นฐานทางสังคม  พื้นฐานทางจิตวิทยาดังนี้
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา  ผู้จัดทำเน้นศึกษาในเรื่องปรัชญาอัตถิภาวะนิยม  (Existialism)  ปรัชญานี้ให้ความสำคัญที่ความมีอยู่เป็นอยู่ของมนุษย์  ซึ่งมนุษย์แต่ละคนจะต้องกำหนดและแสวงหาสาระสำคัญด้วยตนเอง  โดยการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ซึ่งบุคคลแต่ละคนมีเสรีภาพที่จะเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง  การจัดการศึกษาเน้นการให้เสรีภาพกับผู้เรียน  ให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด  ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนค้นหาความหมายและสาระสำคัญของชีวิตตนเอง  ผู้เรียนมีเสรีภาพในการเลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจ  สามารถตัดสินใจเมื่อเผชิญกับปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ  รับผิดชอบในการตัดสินใจและการกระทำของตนเอง  รวมถึงศึกษาในเรื่องปรัชญาพิพัฒนาการ  หรือพิพัฒนนิยม  (Progressivism)  ได้รับแนวคิดมาจาก  ชาลส์  เอส  เพียซ  (Charles  S. Pierce)  และได้รับการเผยแพร่ให้กว้างขวางขึ้นโดยวิลเลี่ยม  เจมส์ (William  James)  จนได้รับความนิยมสูงสุดเมื่อ  จอห์น  ดิวอี้  (John  Dewey)  ได้นำแนวคิดนี้มาใช้ในการศึกษา  เขาได้เสนอแนะการจัดเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือทำ  (learning by doing)  โดยจัดบรรยากาศให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้  เด็กมีอิสระในการใช้ความคิดและลงมือทำตามที่คิด  ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์  (experience)  และเรียนรู้จากการคิด  การลงมือทำและการแก้ปัญหาด้วยตนเอง  (ทิศนา  แขมมณี ,2556 : 26 – 27)

การพัฒนาหลักสูตร สุเทพ อ่วมเจริญ
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรทางสังคม  ผู้จัดทำได้ทำการศึกษาการศึกษามาตรฐานสากล  วิเวียน  (Vivien  Stewert)  ได้ศึกษาและนำเสนอแนวคิดการศึกษามาตรฐานสากลไว้ในหนังสือ  A World Class  Education : Modernizing  Curriculum , Instruction , And Assessment  สรุปได้ว่า
วัตถุประสงค์
1.  มีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยี
2.  แหล่งเรียนรู้ที่ช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตในสภาพการณ์ที่แตกต่างทางด้านวัฒนธรรม
3.  การพึ่งพากันทั่วโลก  จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะเป็นหลัก
4.  การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม  ต้องขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และรู้วิธีการที่จะเรียนรู้     (สุเทพ  อ่วมเจริญ 2557 : 50 - 52)       

              ผู้จัดทำได้ทำการศึกษาการวางแผนพัฒนาหลักสูตรสำหรับผู้เรียนทุกคน  (Meo , G. 2008 : 304  อ้างถึงในสุเทพ  อ่วมเจริญ 2557 : 50 - 52)  โดยแนวคิดนี้  Center  for  Applied  Special  Technology  (CAST ; 2004)  ได้พัฒนาแผนสำหรับผู้เรียนทุกคน  Develop planning for all learners  (PAL)  การพัฒนาแผนได้นำแนวคิดการออกแบบสากลเพื่อการเรียนรู้  (Universal Design for  Learning ; UDL)  มีโอ  ได้เสนอแนวคิดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสำหรับผู้เรียนทุกคน  สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเนื้อหาวิชาต่างๆ  ได้อย่างหลากหลาย  กระบวนการวางแผนสำหรับผู้เรียนทุกคนช่วยครูผู้สอนด้วยขั้นตอนการปฏิบัติด้วยการวางแผนหลักสูตรเพื่อปรับปรุงผลการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนทุกคน  ก่อนเริ่มกระบวนการวางแผน  จำเป็นต้องกำหนดคณะทำงาน  ประกอบด้วย  ครูผู้สอน  (ครูประจำ)  และนักการศึกษาที่มีความสามารถเฉพาะด้านหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นพื้นฐานในการเรียนการสอนตามหลักสูตร  มีกรรมการ 1 คนที่ทำหน้าที่นัดหมายคณะทำงานตามตารางเวลาและวาระการประชุม  ตรวจสอบการตอบคำถามจากการทำหน้าที่ของคณะทำงานตามกระบวนการการวางแผนสำหรับผู้เรียนทุกคน  กรรมการในแต่ละคณะทำงานมีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์จะช่วยกันออกแบบหลักสูตรเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าผู้เรียนทุกคนจะได้รับการพัฒนาในด้านความรู้  ทักษะ  และมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้  การร่วมมือกันทำงานซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาหลักสูตร  คณะทำงานเริ่มทำงานตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสำหรับผู้เรียนทุกคนโดยมีขั้นตอนดังนี้ 

ขั้นที่  1  กำหนดจุดหมายที่เหมาะสมและท้าทายสำหรับผู้เรียน  คณะทำงานต้องทำความเข้าใจว่าอะไรเป็นความต้องการที่คาดหวังให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมาย 

ขั้นที่  2  การวิเคราะห์หลักสูตรปัจจุบันและชั้นเรียน  คณะทำงานต้องรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับวิธีการในการเรียนการสอนในปัจจุบัน  การประเมินการเรียนรู้  และสื่อการเรียนรู้  และความเข้าใจในธรรมชาติของผู้เรียนในชั้นเรียน  โดยให้ความสำคัญในการทำความเข้าใจในภาพรวมเป็นชั้นเรียน

ขั้นที่  3  การใช้การออกแบบสากลเพื่อการเรียนรู้  (UDL)  คณะทำงานร่วมกันทำความเข้าใจในจุดมุ่งหมายของหลักสูตร  และสภาพปัจจุบันในการใช้วิธีสอน  การประเมินและสื่อการเรียนรู้  โปร์ไฟล์ชั้นเรียนและปัญหาอุปสรรคแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับ  3  องค์ประกอบของการออกแบบสากลเพื่อการเรียนรู้  ในขั้นตอนนี้คณะทำงานต้อง  (1)  ระบุวิธีสอน  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้  และสื่อการเรียนรู้  (2)  เขียนบทเรียน  หรือหน่วยการเรียนด้วยแผนการออกแบบสากลเพื่อการเรียนรู้  (3)  รวบรวมและจัดการเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ที่สนับสนุนบทเรียนการออกแบบสากลเพื่อการเรียนรู้  เพื่อเตรียมการใช้สอนบทเรียน

ขั้นที่  4  การสอน  UDL  ด้วยบทเรียนหรือหน่วยการเรียน  การนำบทเรียนหรือหน่วยการเรียนการออกแบบสากลเพื่อการเรียนรู้ไปใช้สอนในชั้นเรียน  มีข้อเสนอแนะว่าการสอนควรเป็นครูผู้สอนในปัจจุบันและครูผู้สอนที่ชำนาญพิเศษ การวางแผนการออกแบบสากลเพื่อการเรียนรู้  นำไปลดปัญหาอุปสรรคของหลักสูตร  ให้สภาพความเป็นจริงกับผู้เรียนแต่ละคนในการเรียนรู้  ความน่าเชื่อถือในประสิทธิผลของการเรียนการสอนและการประยุกต์ที่ท้าทายและเหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน  ทั้งหมดนี้ก็เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียนและผู้เรียนแต่ละคนมีความห้าวหน้าในบทเรียน  ถ้าบทเรียนประสบความสำเร็จกับผู้เรียนทุกคน  คณะกรรมการการวางแผนสำหรับผู้เรียนทุกคนเริ่มกระบวนการในบทเรียนถัดไป  ถ้ามีความจำเป็นต้องปรับปรุงบทเรียน  คณะกรรมการก็ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อลดปัญหาอุปสรรคอีกครั้งหนึ่ง  ทั้งนี้ไม่มีบทเรียนใดสำหรับผู้เรียนทุกคนและมีความเป็นสากล  ในการออกแบบสากลเพื่อการเรียนรู้ไม่สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสมกับผู้เรียนทุกคน 
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา  ผู้จัดทำศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้  กลุ่มสรรค์สร้างนิยม         (Constructivism)  โดยเชื่อว่ามนุษย์ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่แรกเกิด  มีทั้งที่เป็นสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม  เพราะฉะนั้นสถาบันสังคมเริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัวจะมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคล  นอกจากนี้ภาษายังเป็นเครื่องมือสำคัญของการคิดและการพัฒนาเชาวน์ปัญญาขั้นสูง  พัฒนาการทางภาษาและทางความคิดของเด็กเริ่มด้วยการพัฒนาที่แยกจากกัน  แต่เมื่ออายุมากขึ้น  พัฒนาการทั้ง  2  ด้านจะเป็นไปร่วมกัน  (ทิศนา  แขมมณี , 2556 : 26 – 27)

          รวมถึงศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการสอน กลุ่มพุทธินิยมของบรูเนอร์  ซึ่งกล่าวถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนว่า  ครูสามารถจัดเตรียมประสบการณ์เพ่อช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความพร้อมได้  โดยไม่ต้องรอให้นักเรียนพร้อมเองตามธรรมชาติ  ถ้าการนำเสนอตรงกับเงื่อนไขการรับรู้ของนักเรียน  และใช้วิธีการที่เหมาะสมและในการเรียนนั้นเด็กจะเกิดกระบวนการ  3  อย่างพร้อมๆ  กันคือการได้มาซึ่งข้อมูลใหม่ๆ  ข้อมูลเหล่านั้นจะได้มาจากสิ่งที่ตนรู้มาก่อนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม  ลักษณะของการเรียนรู้เรียกว่าการเปลี่ยนแปลง  เป็นกระบวนการของการจัดการกับความรู้เพื่อให้เหมาะสมกับความรู้ใหม่  การประเมินเป็นการตรวจสอบว่าวิธีที่จัดการกับข้อมูลนั้นเหมาะสมกับความรู้หรือไม่และได้เสนอทฤษฎีของการเรียนการสอนซึ่งสอดคล้องกับการเรียนรู้และการเรียนโดยทั่วๆ  ไป

1. กำหนดประสบการณ์ที่จะให้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งเป็นการเรียนรายบุคคลและการเรียนโดยทั่วไป
2.  กำหนดวิธีการให้ผู้เรียนหาความรู้ให้เหมาะสมที่สุด  ซึ่งขึ้นอยู่กับขอบข่ายของความรู้
3.  กำหนดลำดับขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพในการเสนอสิ่งที่เรียนรู้
4.  มีการใช้แรงจูงใจผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอนนั้น  ทั้งแรงจูงใจภายนอกในและแรงจูงใจภายนอก

         แนวความคิดของบรูเนอร์เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน  นักเรียนสามารถเรียนเนื้อหาสาระต่างๆ  ถ้าครูเลือกวิธีการที่เหมาะสมมาใช้โดยไม่ต้องรอเวลา  ครูควรวางแผนจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้รับเนื้อหาสาระซึ่งทำให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้ใหม่ๆ  โดยคำนึงถึงความสามารถและพัฒนาการของนักเรียน  และปรับเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน  จัดลำดับเนื้อหาและทักษะจากง่ายไปยาก  นอกจากนี้ควรออกแบบการจัดการเรียนรู้หลายๆ  วิธีเพื่อให้นักเรียนค้นพบคำตอบหรือกฎเกณฑ์ตามที่ต้องการ
ผู้จัดทำได้ทำการศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับศตวรรษที่  21  ขององค์การการศึกษา  วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก  ที่กล่าวถึงหลักการจัดการศึกษาในศตวรรษที่  21  ว่าการศึกษาต้องเตรียมคนออกไปเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ (Knowledge  worker)  และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  (Learning  person)  ไม่ว่าจะประกอบสัมมาอาชีพใด  มนุษย์ในศตวรรษที่  21  ต้องเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  และเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้  โดยทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษที่  21  เป็นทักษะของการเรียนรู้  (Learning skills)  ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้  ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย  โดยทักษะที่จำเป็นที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่ใช้ใน
      การทำหลักสูตรนี้ประกอบด้วย   7  ทักษะได้แก่
1. ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  และทักษะในการแก้ปัญหา  (Critical  thinking & Problem  solving)
2.  ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม  (Creativity & innovation)
3.  ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม  ต่างกระบวนทัศน์  (Cross-culture understanding)
4.  ทักษะด้านความร่วมมือ  การทำงานเป็นทีม  และภาวะผู้นำ  (Collaborations , teamwork
5.  ทักษะด้านการสื่อสาร  สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ  (Communications , information & media  literacy)
6.  ทักษะด้านคอมพิวเตอร์  และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  (Computing & ICT literacy)
7.  ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้  (Career & learning skills) 
จากทักษะที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่  21  ผู้จัดทำได้เลือก 1 ทักษะคือ  ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  (Critical  thinking)  ซึ่งเป็น  1  ใน  7  ทักษะของคนในศตวรรษที่  21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัยและตลอดชีวิต
นอกจากนี้ผู้จัดทำยังได้ศึกษาเรื่อง  สี่เสาหลักทางการศึกษา  ประกอบด้วยการเรียนรู้  4 ลักษณะของการศึกษาตลอดชีวิตได้แก่  การเรียนเพื่อรู้  (Learning to know)  การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง  (Learning to do)  การเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน  และการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น  (Learning to Live Together)  การเรียนรู้เพื่อชีวิต  (Learning to be)  ซึ่งสี่เสาหลักทางการศึกษานี้ใช้เป็นกรอบการคิดและตัดสินใจ  เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ  การคิดเป็นระบบ  มีจิตสาธารณะและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้และดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข 


เพิ่มเติม เกี่ยวกับ ผศ.ดร.สุเทพ  อ่วมเจริญ
1. ประวัติการศึกษาของประเทศไทย
1.1 ศึกษาประวัติการศึกษาของประเทศไทยตั้งแต่ฉบับแรกถึงปัจจุบัน ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับหน้าที่
ของทฤษฎีหลักสูตรแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับแรกถึงปัจจุบัน
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ.2475 เป็นต้นมา รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยแต่ละ
คณะ ต่างก็ได้พยายามทำนุบำรุงและพัฒนาการศึกษาตลอดมา และได้มีการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ
เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาด้านการศึกษาขึ้น ซึ่งนับแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมา ได้มีการใช้
แผนการศึกษาแห่งชาติ ดังนี้
1. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2475
ในแผนการศึกษาฉบับนี้เน้นด้านการศึกษา 3 ส่วน คือ จริยศึกษา เป็นการอบรมศีลธรรมอันดีงามพุทธิ
ศึกษา ให้ปัญญาความรู้ และพลศึกษา เป็นการฝึกหัดให้เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์
2. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2479
แผนการศึกษาฉบับนี้ได้ปรับปรุงมาจากแผน ปี พ.ศ.2475 เนื่องจากว่าแผนการศึกษาฉบับปี
พ.ศ. 2475 นั้น มีระยะเวลาในการศึกษาสายสามัญ นานเกินสมควร คือต้องเรียนสายสามัญ 12 ปี และยังต้อง
เข้าเรียนต่อสายวิสามัญอีก แผนการศึกษาปี พ.ศ. 2479 นี้กำหนดระยะเวลาของการเรียนชั้นประถมศึกษา
เพียง 4 ปี ทั้งนี้ เป็นเพราะต้องการเร่งรัดให้ประชาชนส าเร็จการศึกษาภาคบังคับถึงกึ่งหนึ่งโดย เร็วโดยปรับปรุง
ให้เหมาะสมกับกาลสมัยมากขึ้น แต่ยังคงเน้นให้การศึกษาทั้ง 3 ด้าน
3. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2494
ในแผนนี้ได้เพิ่ม หัตถกรรม คือการฝึกหัดอาชีพและการประกอบอาชีพเข้ามาอีกรวมเป็น 4ส่วน จึง
เป็น “องค์สี่แห่งการศึกษา” คือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา (ได้อิทธิพลปรัชญาการศึกษา
แบบอเมริกัน) และได้มีการกล่าวถึงการศึกษาพิเศษ และการศึกษาผู้ใหญ่ด้วย แผนการศึกษาฉบับนี้ได้ยกฐานะ
กองโรงเรียนประชาบาลในกรมสามัญศึกษาขึ้นเป็นกรมประชาบาลศึกษา เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา
ผู้ใหญ่และการศึกษาพิเศษ นอกจากนี้ยังมีความพยายามขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 7 ปีอีกด้วย
4. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2503
แผนนี้ได้น าเอาแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2494 มาปรับปรุงใหม่ เพื่อสนองความต้องการของสังคมและ
บุคคล โดยให้สอดคล้องกับการปกครองประเทศ แผนฯนี้ได้ขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 7 ปี จัดเน้นให้
การศึกษา 4 ส่วน และได้จัดระบบการศึกษา เป็น 7:3:2 (ประถม 7 ปี (ศึกษาภาคบังคับ) มัธยมต้น 3 ปี มัธยม
ปลาย 2 ปี) แผนนี้มีอายุการใช้ยาวนานที่สุดถึง 16 ปี

5. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2512
ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความ ประกาศเรื่อง แผนการศึกษาแห่งชาติ ความว่า “การจัดให้มีสถานศึกษานั้น
รัฐใช้วิธีแบ่งแยก คือ รัฐจัดเองบ้าง และส่งเสริมให้คณะบุคคลหรือเอกชนจัดบ้าง”
6. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2520
แผนนี้ต้องการปรับปรุงแผนการศึกษาให้สนองความต้องการและการเปลี่ยนแปลงในสังคม เพื่อสามารถ
อบรมพลเมืองให้ตระหนักและเห็นคุณค่าของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น
ประมุข จัดระบบการศึกษาเป็น 6:3:3 โดยได้ลดชั้นประถมลง 1 ปี และเพิ่มชั้นมัธยมปลาย 1 ปี เท่าระบบ
ปัจจุบัน แต่เวลาเรียนยังเป็น 12 ปี แผนการศึกษาฉบับนี้ยังได้ให้ความส าคัญกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
เป็นพิเศษ อีกด้วย แผนการศึกษาแห่งชาติ2520 นี้ ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารประถมศึกษาครั้ง
ใหญ่
7. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2535
แผนนี้ได้ปรับปรุงมาจากแผนการศึกษา พ.ศ.2520 เพื่อให้ระบบการศึกษาสนองตอบความต้องการและ
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใน สังคมไทยอย่างรวดเร็ว และสร้างความสมดุลในการพัฒนาประเทศทั้งด้าน
เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดการศึกษาในระบบ 6:3:3โดย
มุ่งจัดการศึกษาที่เน้นการพัฒนาบุคคลใน 4 ด้านอย่างสมดุลและกลมกลืนกัน คือ ด้านปัญญา ด้านจิตใจ ด้าน
ร่างกาย และด้านสังคม ตลอดจนมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและสามารถพึ่งตนเองได้
8. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545-2559
เรื่องส าคัญที่ครูทุกคนจำได้ในแผนนี้ คือสอนให้นักเรียน เก่ง ดี มีสุข
วัตถุประสงค์1 : พัฒนาคนอย่างรอบด้าน และสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 1 : การพัฒนาทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 2 : การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 3 : การปลูกฝังและเสริมสร้าง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และ
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระบบวิถีชีวิตที่ดีงาม
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 4 : การพัฒนาก าลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพึ่งพาตนเองและ
เพิ่มสมรรถนะการแข่งขันในระดับนานาชาติ
วัตถุประสงค์2:สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรมภูมิปัญญาและการเรียนรู้
แนวนโยบาย เพื่อดำเนินการ 5 : การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรู้ ความคิด ความประพฤติ
และคุณธรรมของคน
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ6:การส่งเสริมการวิจัยและการเรียนรู้ของสังคมไทย
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 7 : การสร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้และเผยแพร่ความรู้และการเรียนรู้ภูมิปัญญาและ
การเรียนรู้
วัตถุประสงค์ 3 : เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคมคุณธรรม
ภูมิปัญญาและการเรียนรู้
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 8 : การส่งเสริมและสร้างสรรค์ทุนทางสังคม วัฒนธรรม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บนฐานของศาสนาภูมิปัญญาท้องถิ่น/ไทย
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 9 : การจ ากัด ลด ขจัดปัญหาทางโครงสร้างที่ก่อให้เกิดและ/หรือคงไว้ซึ่งความ
ยากจน ขัดสน ด้อยทั้งโอกาสและศักดิ์ศรีของคนและสังคมไทยเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 10 : การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการพัฒนาประเทศ

แนวนโยบายเพื่อดำเนิน การ 11 : การจัดระบบทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา ศาสนา ศิลปะ และ
วัฒนธรรมเพื่อพัฒนาคนและสังคมไทย
9. แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552-2
เป็นการปรับปรุงแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545-2559 ที่ใช้มาแล้วครึ่งทางและยังเหลือระยะเวลาอีก
กว่า 7 ปีสาระสำคัญของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 - 2559)
ปัจจุบันแม้สถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ แต่เนื่องจากแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ
เดิม (พ.ศ. 2545 - 2559) นั้น เป็นแผนระยะยาวที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 จึงเห็นควรให้คงปรัชญาหลัก เจตนารมณ์ และวัตถุประสงค์ของแผนฉบับเดิมไว้ แล้วปรับปรุงใน
ส่วนของนโยบายเป้าหมาย และกรอบการด าเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสรุป
สาระสำคัญได้ดังนี้
ปรัชญาหลักและกรอบแนว
การจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 - 2559) ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง ยึดทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณ อย่างมีเหตุผล มีความรอบรู้เท่า
ทันโลก เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และความอยู่ดีมีสุขของคนไทย เกิดการบูรณาการแบบองค์รวมที่
ยึด “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมี“ดุลยภาพ” ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม เป็น
แผนที่บูรณาการ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งเชื่อมโยงการพัฒนา
การศึกษากับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม
วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น โดยค านึงถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
เจตนารมณ์ของแผน
แผนการศึกษาแห่งชาติมีเจตนารมณ์เพื่อมุ่ง
(1) พัฒนาชีวิตให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม
และวัฒนธรรมในการด ารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” และ
(2) พัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีความเข้มแข็งและมีดุลยภาพใน 3 ด้าน คือ เป็นสังคมคุณภาพ สังคม
แห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน
วัตถุประสงค์ของแผน
เพื่อให้บรรลุตามปรัชญาหลักและเจตนารมณ์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 -
2559) จึงก าหนดวัตถุประสงค์ของแผนฯ ที่ส าคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. พัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา
2. เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้
3. เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิ
ปัญญา และการเรียนรู้
แนวนโยบาย เป้าหมาย และกรอบการดำเนินงาน
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสามประการดังกล่าว ประกอบกับการคำนึงถึงทิศทางการพัฒนาประเทศใน
อนาคตที่เน้นการใช้ความรู้เป็น ฐานของการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประชากร สิ่งแวดล้อม
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้กำหนดแนวนโยบายในแต่ละวัตถุประสงค์ ดังนี้
วัตถุประสงค์1 พัฒนาคนอย่างรอบด้าน และสมดุล เพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนาแนวนโยบาย
1.1 พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ในทุกระดับและประเภทการศึกษา
1.2 ปลูกฝังและเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม มีจิตส านึกและมีความภูมิใจ

ในความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีจิตสาธารณะ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และรังเกียจการทุจริต ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง
1.3 เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตได้มีโอกาส เข้าถึงบริการ
การศึกษาและการเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ ยากจน อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล
ทุรกันดาร
1.4 ผลิตและพัฒนาก าลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และเสริมสร้างศักยภาพการ
แข่งขัน และร่วมมือกับนานาประเทศ
1.5 พัฒนามาตรฐานและระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งระบบประกันคุณภาพภายในและ
ระบบการประกันคุณภาพภายนอก
1.6 ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานมีคุณธรรม
และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์2 สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้แนวนโยบาย
2.1 ส่งเสริมการจัดการศึกษา อบรม และเรียนรู้ของสถาบันศาสนา และสถาบันทางสังคมทั้งการศึกษา
ในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
2.2ส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายภูมิปัญญา และการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรม พลศึกษา กีฬา
เป็นวิถีชีวิตอย่างมีคุณภาพและตลอดชีวิต
2.3 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญา พัฒนาระบบ
บริหารจัดการความรู้ และสร้างกลไกการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
วัตถุประสงค์ 3 พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคม
คุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้แนวนโยบาย
3.1 พัฒนาและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพ เพิ่มโอกาสทางการศึกษา และ
การเรียนรู้ตลอดชีวิต
3.2 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยเร่งรัดกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษาไปสู่
สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ประชาชน ประชาสังคม และทุกภาคส่วนของสังคมในการ
บริหารจัดการศึกษา และสนับสนุนส่งเสริมการศึกษา
3.4 ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ และการลงทุนเพื่อการศึกษา ตลอดจนบริหารจัดการ และใช้
ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
3.5 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่าประเทศด้านการศึกษา พัฒนาความเป็นสากลของการศึกษา เพื่อ
รองรับการเป็นประชาคมอาเซียนและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
ขณะเดียวกันสามารถอยู่ร่วมกันกับพลโลกอย่างสันติสุข มีการพึ่งพาอาศัยและเกื้อกูลกัน
การบริหารแผนสู่การปฏิบัติ
แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ให้ความสำคัญกับการน าแผนสู่การปฏิบัติ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนข้อเสนอ
ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ที่เน้นเป้าหมาย 3 ด้าน คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาส
ทางการศึกษา และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา ตลอดจนค านึงถึงความสอดคล้อง
กับระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงเห็นควรกำหนดระยะเวลาดำเนินงานบริหารแผน
สู่การปฏิบัติเป็น 2 ระยะ ดังนี้

ระยะที่1 แผนงานรีบด่วน ระหว่างปี2552 - 2554 ให้เร่งด าเนินการตามข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษา
ในทศวรรษที่สองโดยให้มีการจัดท าแผนเพื่อพัฒนาการศึกษาตามประเด็นเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาได้แก่ 
1) แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2) แผนขยายโอกาสทางการศึกษา และ
3) แผนส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา รวมทั้งควรมีการสร้างกลไกเพื่อ
ขับเคลื่อนการด าเนินงานตามแผนการศึกษาแห่งชาติ
ระยะที่2 ระหว่างปี2552 - 2559 ให้เร่งดำเนินการตามนโยบายทั้ง 14ด้านให้บรรลุผลตาม เป้าหมาย
ที่กำหนดไว้ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนฯ เมื่อสิ้นสุดระยะที่ 1 
และระยะที่ 2 รวมทั้งการ
เตรียมการร่างแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ต่อไป
นอกจากนี้ ให้มีการจัดทำกรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงระยะเวลา 5 ปี เพื่อเป็นกรอบแนวทาง
ในการพัฒนาการศึกษาในภาพรวม และแผนพัฒนาการศึกษาแต่ละระดับ/ประเภทการศึกษา ที่สอดคล้องกับ
แผนการศึกษาแห่งชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แก่ แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา แผนพัฒนาการอุดมศึกษา เป็นต้น
ในระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ให้มีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และในระดับเขต
พื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา ให้มีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาเขตพื้นที่
การศึกษาแผนพัฒนาการศึกษาองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา
ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับหน้าที่ของทฤษฎีหลักสูตร
ทฤษฎีหลักสูตรมีหน้าที่ ดังนี้
1. บรรยาย (Description)
การบรรยาย เป็นการบอกเล่าเกี่ยวกับ การจัดหมวดหมู่ หรือจัดจำแนกประเภทของความรู้ ที่มีรายละเอียด
ตามทฤษฎี ซึ่งมีการปรับแต่งโครงสร้าง ด้วยการแปลความหมายของแต่ละคน ที่มีความซับซ้อนของกิจกรรมที่
สามารถปรับได้ โดยสรุปเป็นการจัดการ และสรุปความรู้
2. ทำนาย (Prediction)
การท านาย ทฤษฎีสามารถทำนายเหตุการณ์ ทั้งที่เหตุการณ์นั้นยังไม่เกิด ทั้งนี้อาศัยพื้นฐาน หลักการ
อธิบายเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน บางครั้งการทำนายเป็นการทำหน้าที่ของทฤษฎีที่อยู่เหนือความคาดหมาย
3. อธิบาย (Explanation)
การอธิบาย คำว่า “ทำไม” ไม่เพียงแต่ความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ แต่ไม่ได้ให้ข้อเสนอแนะ ทั้งสิ่งที่
ชัดแจ้ง หรือสิ่งที่แฝงอยู่ ที่เป็นเหตุผลในสัมพันธภาพนั้น
4. แนะแนว (Guidanc)
ทฤษฎี ทำหน้าที่เช่นเดียวกันกับการแนะแนว ทฤษฎีช่วยนักวิจัยเลือกข้อมูล เพื่อการวิเคราะห์และสร้าง
ข้อสรุปจากข้อมูล ทฤษฎีจึงส่งเสริมการค้นคว้าต่อเนื่อง
หลักสูตร

การเลือกแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หรือหลักสูตรตามความสนใจ ตามประเด็นต่อไปนี้
1. ศึกษาแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร และเลือกมาใช้พัฒนาหลักสูตร
เลือกแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ ดังนี้
1. แหล่งข้อมูล
- จากการศึกษา
- จากมาตรฐานการเรียนรู้
- จากการสัมภาษณ์บุคคล(ภูมิปัญญาท้องถิ่น)
2. ก าหนดวัตถุประสงค์(ฉบับร่าง)
3. กลั่นกรอง
4.จุดประสงค์ของหลักสูตร
5. เลือกประสบการณ์การเรียนรู้(กำหนดเนื้อหาในแต่ละหน่วยการจัดการเรียนรู้/แผน)
6.การจัดการประสบการณ์การเรียนรู้(การจัดการเรียนการสอนตามแผน)
7.การประเมิน(ประเมินหลักสูตร ประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน)
2. แผนผังมโนทัศน์กระบวนการพัฒนาหลักสูตร ด้วยการอุปมาอุปมัย อาทิ การพัฒนาหลักสูตร
เปรียบเสมือน...(เสนอแนวคิดเปรียบเทียบ)
หลักสูตรก็เปรียบได้กับรถยนต์ ซึ่งมีหลากหลายยี่ห้อ รถผลิตในประเทศ รถนำเข้าจากต่างประเทศ เล็กบ้าง
ใหญ่บ้าง มีทั้งเก่าและใหม่ บางคนก็แสวงหารถใหม่มาใช้ แต่บางคนก็ยังอนุรักษ์ของเก่าอยู่ แต่บางคนก็มี ทั้ง
สองอย่าง เลือกใช้ตามภารกิจและตามความพอใจ คือวิ่งระยะใกล้-ระยะไกล วิ่งนอกเมือง-ในเมือง สำหรับไป
งานพิธีการหรือส่วนตัว ซึ่งก็เช่นเดียวกับความหมายของหลักสูตรที่มีความหลากหลาย มีทั้งหลักสูตรในระบบ
โรงเรียน-นอกระบบโรงเรียน อาจเป็นรายวิชา เป็นหน่วย เป็นแผนการ หรือโครงการ ซึ่งผู้ที่น าหลักสูตรไปใช้
จะเลือกใช้แบบใดก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของเรื่องนั้นๆ ภายในหลักสูตรยังประกอบไปด้วย
รายละเอียดของโครงสร้างหลักสูตร เช่น หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง เนื้อหา วิธีการ เป็นต้น เช่นเดียวกับ
รถยนต์ซึ่งมีชิ้นส่วนต่างๆ ประกอบกันเข้าเป็นตัวรถ และทุกชิ้นส่วนล้วนมีความสำคัญที่ประกอบเข้ากันตาม
ขั้นตอน หรือเป็นระบบ และรถยนต์จะวิ่งไปไม่ได้ถ้าปราศจากคนขับ และไม่มีถนน เช่นเดียวกับหลักสูตรจะดี
หรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้ที่นำไปใช้ หรือผู้ปฏิบัติ ถึงแม้หลักสูตรจะดีอย่างไร แต่ถ้าผู้ใช้ไม่เข้าใจ ใช้ได้ไม่ดีไม่ถูกต้อง

ผลลัพธ์ที่ได้ย่อมไม่บรรลุเป้าหมาย รถยนต์ต้องวิ่งไปตามเส้นทาง เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่ก าหนดไว้ หัวใจสำคัญ
คือ คนขับ ระหว่างทางอาจเจอสภาพปัญหามากมาย เช่นทางแคบ ทางโค้ง ฝนตก ถนนลื่น เช่นเดียวกับผู้ที่นำ
หลักสูตรไปใช้ ต่างก็พบปัญหาและอุปสรรคมากมาย เช่นความไม่ชัดเจนของตัวหลักสูตร ความไม่เข้าใจของตัว
ครู ความไม่สนใจของนักเรียน ความไม่ใส่ใจของผู้บริหาร ขาดวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
3. ระบุองค์ประกอบของ “หลักสูตร” ที่พัฒนาขึ้นตามความสนใจ
1. วิสัยทัศน์(Vision)
2. พันธกิจ (Mission)
3. จุดหมาย
4. เป้าหมาย
5. คุณภาพผู้เรียน
6. โครงสร้างเนื้อหา
7. การจัดการเรียนการสอน
8. สื่อการเรียนรู้

9. การวัดและประเมินผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น