หลักสูตรสถานศึกษา 51 ของภาษาไทย
วิสัยทัศน์โรงเรียน
โรงเรียนบ้านฝาผนัง
เป็นสถานศึกษาแห่งการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
มีความรับผิดชอบ พัฒนาครูเป็นครูมืออาชีพชุมชนมีส่วนร่วมจัดการศึกษา
พันธกิจ
๑.
จัดการศึกษาระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา
๒. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา
๓. จัดภูมิทัศน์ในสถานศึกษา
ให้มีสภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน
๔.
ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๕.
จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
เป้าประสงค์
๑. นักเรียนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
๒.โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน
๓.นักเรียนมีความสามารถในการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
๔. บุคลากรได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาชีพ
๕. โรงเรียนมีภูมิทัศน์สวยงามและแหล่งเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างหลากหลาย
๖. โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากชุมชนในการจัดการศึกษา
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
หลักสูตรโรงเรียนบ้านฝาผนัง
พุทธศักราช ๒๕๖๐ มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้
๑. ความสามารถในการสื่อสาร
เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร
มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด
ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก
และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและ
4
หลักสูตรโรงเรียนบ้านฝาผนัง
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
สังคม การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง
ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร
ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
๒. ความสามารถในการคิด
เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด
อย่างสร้างสรรค์
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ
เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา
เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ
ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล
คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ
เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง
ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้
ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
และมีกาตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง
สังคมและสิ่งแวดล้อม
๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ
ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน
และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล
การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง
ๆ อย่างเหมาะสม
การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม
และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ
และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี
เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน
การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง
เหมาะสม และมีคุณธรรม
คุณลักษณะที่พึงประสงค์
หลักสูตรโรงเรียนบ้านฝาผนัง
พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
ในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้
1. รักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2. ซื่อสัตย์สุจริต
3. มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. รักความเป็นไทย
8. มีจิตเป็นสาธารณะ
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
ท ๑๑๑๐๑ ภาษาไทย๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เวลา ๒๐๐
ชั่วโมง
คำอธิบายรายวิชา
ฝึกอ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง
และข้อความสั้นๆ บอกความหมายของคำและข้อความ ตอบคำถาม
เล่าเรื่องย่อ คาดคะเนเหตุการณ์
เลือกอ่านหนังสือตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอ นำเสนอเรื่องที่อ่าน
บอกความหมายของเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์สำคัญที่มักพบเห็นในชีวิตประจำวัน
มีมารยาทในการอ่าน
ฝึกคัดลายมือด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัด
เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่ายๆ มีมารยาทในการเขียน
ฝึกทักษะในการฟัง ฟังคำแนะนำ
คำสั่งง่ายๆและปฏิบัติตาม ตอบคำถาม เล่าเรื่อง
พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู
พูดสื่อสารได้ตามวัตถุประสงค์ เน้นมารยาทในการฟัง
การดูและการพูด
ฝึกทักษะการเขียนพยัญชนะ สระ
วรรณยุกต์ และเลขไทย เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ
เรียบเรียงคำเป็นประโยคง่ายๆ
ต่อคำคล้องจองง่ายๆ
บอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือการฟังวรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรองสำหรับเด็ก
ฝึกท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองตามความสนใจ
โดยใช้กระบวนการอ่าน กระบวนการเขียน
กระบวนการแสวงหาความรู้
กระบวนการกลุ่ม กระบวนการคิด การฝึกปฏิบัติ อธิบาย บันทึก การตั้งคำถาม
ตอบคำถาม ใช้ทักษะการฟัง
การดูและการพูด พูดแสดงความคิดเห็น กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด
ความเข้าใจ สื่อสารได้ถูกต้อง รักการเรียนภาษาไทย
เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ภาษาไทย
และตัวเลขไทย
สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ
ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ท ๑.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓, ป.๑/๔, ป.๑/๕, ป.๑/๖, ป.๑/๗, ป.๑/๘
ท ๒.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓
ท ๓.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓, ป.๑/๔, ป.๑/๕
ท ๔.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓, ป.๑/๔
ท ๕.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒
รวม ๕ มาตรฐาน ๒๒ ตัวชี้วัด
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
ท ๑๒๑๐๑ ภาษาไทย๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เวลา ๒๐๐
ชั่วโมง
คำอธิบายรายวิชา
ฝึกอ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง
ข้อความ และบทร้อยกรองง่ายๆ
อธิบายความหมายของคำและข้อความที่อ่าน
ตั้งคำถาม ตอบคำถาม ระบุใจความสำคัญและรายละเอียด
แสดงความคิดเห็นและคาดคะเนเหตุการณ์
เลือกอ่านหนังสือตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอและนำเสนอเรื่องที่อ่าน
อ่านข้อเขียนเชิงอธิบาย
และปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อแนะนำ
มีมารยาทในการอ่าน
ฝึกคัดลายมือด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัด
เขียนเรื่องสั้นๆ เกี่ยวกับประสบการณ์ เขียนเรื่องสั้นๆ
ตามจินตนาการ มีมารยาทในการเขียน
ฝึกทักษะการฟัง ฟังคำแนะนำ
คำสั่งที่ซับซ้อนและปฏิบัติตาม เล่าเรื่อง บอกสาระสำคัญของเรื่อง
ตั้งคำถาม ตอบคำถาม
พูดแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก พูดสื่อสารได้ชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์
มีมารยาทในการฟัง การดูและการพูด
ฝึกทักษะการเขียนพยัญชนะ สระ
วรรณยุกต์ และเลขไทย เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ
เรียบเรียงคำเป็นประโยคได้ตรงตามเจตนาของการสื่อสาร
บอกลักษณะคำคล้องจอง
เลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ
ฝึกจับใจความสำคัญจากเรื่อง
ระบุข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือการฟังวรรณกรรมสำหรับเด็ก
เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ร้องบทร้องเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น
ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
โดยใช้กระบวนการอ่าน
กระบวนการเขียน
กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการคิดวิเคราะห์
กระบวนการสื่อความ กระบวนการแก้ปัญหา
การฝึกปฏิบัติ อธิบาย บันทึก การตั้งคำถาม ตอบคำถาม
ใช้ทักษะการฟัง การดูและการพูด
พูดแสดงความคิดเห็น กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด
ความเข้าใจ สื่อสารได้ถูกต้อง รักการเรียนภาษาไทย
เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ภาษาไทย
และตัวเลขไทย
สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ
ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ท ๑.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔, ป.๒/๕, ป.๒/๖, ป.๒/๗, ป.๒/๘
ท ๒.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔
ท ๓.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔, ป.๒/๕ ป.๒/๖, ป.๒/๗
ท ๔.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔, ป.๒/๕
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
ท ๑๓๑๐๑ ภาษาไทย๓
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เวลา ๒๐๐
ชั่วโมง
คำอธิบายรายวิชา
ฝึกอ่านออกเสียงคำ ข้อความ
เรื่องสั้น ๆ และบทร้อยกรองง่ายๆ
อธิบายความหมายของคำและข้อความที่อ่าน
ตั้งคำถาม ตอบคำถามเชิงเหตุผล ลำดับเหตุการณ์
คาดคะเนเหตุการณ์ สรุปความรู้
ข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
เลือกอ่านหนังสือตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอและนำเสนอเรื่องที่อ่าน
อ่านข้อเขียนเชิงอธิบาย
และปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อแนะนำ
อธิบายความหมายของข้อมูลจากแผนภาพ แผนที่ และแผนภูมิ
มีมารยาทในการอ่าน
ฝึกคัดลายมือด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัด
เขียนบรรยาย เขียนบันทึกประจำวัน เขียนเรื่องตามจินตนาการ
มีมารยาทในการเขียน
ฝึกทักษะการฟัง การดูและการพูด
เล่ารายละเอียด บอกสาระสำคัญ ตั้งคำถาม ตอบคำถาม
พูดแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก
พูดสื่อสารได้ชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์ มีมารยาทในการฟัง
การดูและการพูด
ฝึกเขียนตามหลักการเขียน
เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ ระบุชนิด หน้าที่ของคำ
ใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ
แต่งประโยคง่ายๆ แต่งคำคล้องจองและคำขวัญ
เลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ
ระบุข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณกรรม
เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รู้จักเพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก
เพื่อปลูกฝังความชื่นชมวัฒนธรรมท้องถิ่น
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดีที่อ่าน
ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
โดยใช้กระบวนการอ่าน
กระบวนการเขียน
กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการคิดวิเคราะห์
กระบวนการสื่อความ กระบวนการแก้ปัญหา
การฝึกปฏิบัติ อธิบาย บันทึก การตั้งคำถาม ตอบคำถาม
ใช้ทักษะการฟัง การดูและการพูด
พูดแสดงความคิดเห็น กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด
ความเข้าใจ สื่อสารได้ถูกต้อง รักการเรียนภาษาไทย
เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ภาษาไทย
และตัวเลขไทย
สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ
ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ท ๑.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕, ป.๓/๖, ป.๓/๗, ป.๓/๘, ป.๓/๙
ท ๒.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕, ป.๓/๖
ท ๓.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕, ป.๓/๖
ท ๔.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕, ป.๓/๖
ท ๕.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔
รวม ๕ มาตรฐาน ๓๑ ตัวชี้วัด
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
ท ๑๔๑๐๑ ภาษาไทย๔
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เวลา ๑๖๐
ชั่วโมง
คำอธิบายรายวิชา
ฝึกอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง
อธิบายความหมายของคำ
ประโยคและสำนวนจากเรื่องที่อ่าน
อ่านเรื่องสั้น ๆ ตามเวลาที่กำหนดและตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน
แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน
คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน โดยระบุเหตุผลประกอบ
สรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน
เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
เลือกอ่านหนังสือที่มีคุณค่าตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
มีมารยาทในการอ่าน
ฝึกคัดลายมือด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้อง
ชัดเจนและเหมาะสม
เขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน
เขียนย่อความจากเรื่องสั้น ๆ
เขียนจดหมายถึงเพื่อนและมารดา
เขียนบันทึกและเขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า
เขียนเรื่องตามจินตนาการ มีมารยาทในการเขียน
ฝึกทักษะการฟัง การดูและการพูด
จำแนกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นเรื่องที่ฟังและดู
พูดสรุปจากการฟังและดู
พูดแสดงความรู้ ความคิดเห็นและความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู
ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลจากเรื่องที่ฟังและดู
พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง
การดูและการสนทนา มีมารยาทในการฟัง
การดูและการพูด ฝึกเขียนตามหลักการเขียน
เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำในบริบทต่าง
ๆ ระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค
ใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ
แต่งประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษา แต่งบทร้อยกรองและคำขวัญ
บอกความหมายของสำนวน
เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้
ระบุข้อคิดจากนิทานพื้นบ้านหรือนิทานคติธรรมอธิบายข้อคิดจากการอ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริงร้องเพลงพื้นบ้าน
ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
โดยใช้กระบวนการอ่าน
กระบวนการเขียน
กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการคิดวิเคราะห์และสรุปความ
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
กระบวนการสื่อความ กระบวนการแก้ปัญหา การฝึกปฏิบัติอธิบาย บันทึก
การตั้งคำถาม ตอบคำถาม
ใช้ทักษะการฟัง
การดูและการพูดพูดแสดงความคิดเห็นกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด
ความเข้าใจ สื่อสารได้ถูกต้อง รักการเรียนภาษาไทย
เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ภาษาไทยและตัวเลขไทย
สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้วิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตป
ระจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ท ๑.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔, ป.๔/๕, ป.๔/๖, ป.๔/๗, ป.๔/๘
ท ๒.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔, ป.๔/๕, ป.๔/๖, ป.๔/๗, ป.๔/๘
ท ๓.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔, ป.๔/๕, ป.๔/๖
ท ๔.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔, ป.๔/๕, ป.๔/๖, ป.๔/๗
ท ๕.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔
รวม ๕ มาตรฐาน ๓๓ ตัวชี้วัด
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
ท ๑๕๑๐๑ ภาษาไทย๕
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เวลา ๑๖๐
ชั่วโมง
คำอธิบายรายวิชา
ฝึกอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง
อธิบายความหมายของคำ
ประโยคและข้อความที่เป็นการบรรยายและการพรรณนา
อธิบายความหมายโดยนัย แยกข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น
วิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น
อ่านงานเขียนเชิงอธิบาย คำสั่ง ข้อแนะนำ และปฏิบัติตาม
เลือกอ่านหนังสือที่มีคุณค่าตามความสนใจ
มีมารยาทในการอ่าน
ฝึกคัดลายมือด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด
เขียนสื่อสาร เขียนแผนภาพโครงเรื่อง
แผนภาพความคิด เขียนย่อความ
เขียนจดหมายถึงผู้ปกครองและญาติ เขียนแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น
กรอกแบบรายการต่าง ๆ
เขียนเรื่องตามจินตนาการ มีมารยาทในการเขียน
ฝึกทักษะการฟัง การดูและการพูด
พูดแสดงความรู้ ความคิดเห็นและความรู้สึก ตั้งคำถาม
ตอบคำถาม วิเคราะห์ความ พูดรายงาน
มีมารยาทในการฟัง การดูและการพูด
ระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค
จำแนกส่วนประกอบของประโยค
เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น
ใช้คำราชาศัพท์ บอกคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย แต่งบท
ร้อยกรอง ใช้สำนวนได้ถูกต้อง
สรุปเรื่องจากวรรณคดีหรือวรรณกรรมที่อ่าน
ระบุความรู้
ข้อคิดจากการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริง
อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม
ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
โดยใช้กระบวนการอ่าน
กระบวนการเขียน
กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการคิดวิเคราะห์และสรุปความ
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
กระบวนการสื่อความ กระบวนการแก้ปัญหา การฝึกปฏิบัติ อธิบาย
บันทึก การตั้งคำถาม ตอบคำถาม
ใช้ทักษะการฟัง การดูและการพูด พูดแสดงความคิดเห็น
กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด
ความเข้าใจ สื่อสารได้ถูกต้อง รักการเรียนภาษาไทย
เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ภาษาไทย
และตัวเลขไทย
สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้วิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตป
ระจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ท ๑.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕, ป.๕/๖, ป.๕/๗, ป.๕/๘
ท ๒.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕, ป.๕/๖, ป.๕/๗, ป.๕/๘, ป.๕/๙
ท ๓.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕
หลักสูตรโรงเรียนบ้านฝาผนัง
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ท ๔.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕, ป.๕/๖, ป.๕/๗
ท ๕.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔
รวม ๕ มาตรฐาน ๓๓ ตัวชี้วัด
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
ท ๑๖๑๐๑ ภาษาไทย๖
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เวลา ๑๖๐
ชั่วโมง
คำอธิบายรายวิชา
ฝึกอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง
อธิบายความหมายของคำ
ประโยคและข้อความที่เป็นโวหาร
อ่านเรื่องสั้น ๆอย่างหลากหลาย
แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน
วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต
อ่านงานเขียน เชิงอธิบาย
คำสั่ง ข้อแนะนำ และปฏิบัติตาม
อธิบายความหมายของข้อมูลจากการอ่านแผนผัง แผนที่ แผนภูมิและกราฟ
เลือกอ่านหนังสือตามความสนใจและอธิบายคุณค่าที่ได้รับ
มีมารยาทในการอ่าน
ฝึกคัดลายมือด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด
เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้อง ชัดเจน
และเหมาะสม
เขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน เขียนเรียงความ
เขียนย่อความจากเรื่องอ่าน
เขียนจดส่วนตัว กรอกแบบรายการต่าง ๆ
เขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์
มีมารยาทในการเขียน
ฝึกทักษะการฟัง การดูและการพูด
พูดแสดงความรู้ ความเข้าใจจุดประสงค์ของเรื่องที่ฟังและดู
ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลจากเรื่องที่ฟังและดู
วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากเรื่องที่ฟังและดูสื่อโฆษณาอย่างมีเหตุผล
พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง
การดูและการสนทนา
พูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ
มีมารยาทในการฟัง การดูและการพูด
ฝึกวิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค
ใช้คำได้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
รวบรวมและบอกความหมายของคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย
ระบุลักษณะของประโยค
แต่งบทร้อยกรอง
วิเคราะห์เปรียบเทียบสำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต
ฝึกแสดงความคิดเห็นจากวรรณคดีหรือวรรณกรรมที่อ่าน
เล่านิทานพื้นบ้านท้องถิ่นตนเองและนิทานพื้นบ้านของท้องถิ่นอื่น
อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
หลักสูตรโรงเรียนบ้านฝาผนัง
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อย
โดยใช้กระบวนการอ่าน กระบวนการเขียน
กระบวนการแสวงหาความรู้
กระบวนการกลุ่ม กระบวนการคิดวิเคราะห์และสรุปความ
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
กระบวนการสื่อความ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการสังเกต
กระบวนกรแยกข้อเท็จจริง
กระบวนการค้นคว้า กระบวนการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร
กระบวนการใช้ทักษะทางภาษา
การฝึกปฏิบัติ อธิบาย บันทึก การตั้งคำถาม ตอบคำถาม ใช้ทักษะการฟัง
การดูและการพูด พูดแสดงความคิดเห็น
กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด
ความเข้าใจ สื่อสารได้ถูกต้อง รักการเรียนภาษาไทย
เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ภาษาไทย
และตัวเลขไทย
สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้วิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตป
ระจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ท ๑.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖, ป.๖/๗, ป.๖/๘, ป.๖/๙
ท ๒.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖, ป.๖/๗, ป.๖/๘, ป.๖/๙
ท ๓.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖
ท ๔.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖
ท ๕.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔
รวม ๕ มาตรฐาน ๓๔ ตัวชี้วัด
จุดประสงค์รายวิชาภาษาไทย ดังนี้
๑.มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ภาษาไทย
๒.สามารถเลือกใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา
เหมาะสมกับบุคคล กาลเทศะ โอกาส และสถานการณ์
๓.เห็นคุณค่าและความสำคัญของการใช้ภาษาไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น