วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ศตวรรษที่ 21 จากวิจารณ์ พานิช

ดังนั้นจึงอยากคาดหวังไว้กับการจัดการศึกษาในอุ้งมือครู และผู้เกี่ยวข้องได้ตระหนักและรีบลงมือ เพื่อใน คศ. 2020 คนไทยจะพบกับความสงบร่มเย็น 

ขอนำเอาสาระใจความที่สำคัญในเล่มนี้มาเพียงคำนิยม และคำนำ ของท่านมาแชร์อ่านกันอีกครั้งค่ะ

 อ่านคำนิยมของนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ท่านกล่าวไว้ว่า...

การศึกษาของไทยถึงทางตันแล้ว เมื่อถึงทางตันไม่เพียงแต่ไปต่อไม่ได้ลำพังการหยุดนิ่งอยู่กับที่แปลว่า ก้าวถอยหลังนานาประเทศจะแซงหน้าเราขึ้นไป แล้วเยาวชนของเราก็จะอยู่ข้างหลัง ในโลกไร้พรมแดนที่วัดกันด้วยความสามารถในการทำงาน มิใช่วามสามารถในการท่องจำ ก็พอทำนายได้ว่า เยาวชนของเราก็จะได้งานที่ใช้ความสามารถต่ำกว่านานาประเทศความสามารถในการทำงานมิได้ขึ้นกับรู้มากหรือรู้น้อย แต่ขึ้นกับทักษะการเรียนรู้ พร้อมเรียนรู้ ใฝ่เรียนรู้ อยากเรียนรู้ สนุกกับการเรียนรู้เรียนรู้ได้ตลอดเวลาจากทุกสถานที่ มีทักษะชีวิตที่ดีปรับตัวได้ทุกครั้งเมื่อพบอุปสรรค ยืดหยุ่นตัวเองได้ทุกรูปแบบเมื่อพบปัญหาชีวิต นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นปรากฏการณ์ใหม่แห่งศตวรรษที่ ๒๑เด็กและเยาวชนในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องการทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑เพื่อจะดำรงชีวิตได้ในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งการศึกษาไทยปัจจุบันไม่ได้ให้และให้ไม่ได้ แล้วจะทำอย่างไร  เพียงเท่านี้ ...ครูทุกท่านอ่านแล้วจะรู้สึกเหมือนดิฉันไหมว่า " ท่านได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบของครูที่จะต้องรีบขวนขวาย หาความรู้ เพิ่มทักษะกระบวนการสอนที่เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน

  ดิฉันอ่านแต่คำนิยมของท่าน  ของ ผอ. วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศ  กล่าวว่า

เมื่อองค์ความรู้ของโลกขยายขอบเขตเพิ่มพูนขึ้นแบบเท่าทวีคูณกอปรกับประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงความรู้ เหล่านั้นได้ในเวลาเพียงลัดมือเดียว ทำให้ใครหลายคนเชื่อว่า “ครู” กลายเป็นอาชีพที่อาจจะหมดความจำเป็นลงในอนาคตอันใกล้นี้ แต่ผมกลับไม่เชื่ออย่างนั้น ยิ่งทั้งสองปัจจัยข้างต้นก้าวล่วงไปมากเท่าใด ความจำเป็นที่ต้องมีครูยิ่งมากขึ้น อย่างน้อยก็ด้วยสองเหตุผลนี้ อย่างแรก ความรู้ที่มีอยู่อันมากมายนั้นจะไม่สามารถนำมาใช้ตามความจำเป็นหรือความต้องการได้ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะเหตุปัจจัยและบริบทของเหตุการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน ความรู้สำหรับแก้ปัญหาของวันพรุ่งนี้จะไม่ใช่ชุดความรู้ที่มีอยู่ เราจึงจำเป็นต้องมีครูที่เก่งในการจัดสรรองค์ประกอบให้ผู้เรียนได้กลายเป็นนักเรียนรู้คือ มีเครื่องมือหรือทักษะจำเป็นต่อการเรียนรู้ อย่างครบถ้วน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาหรือสร้างองค์ความรู้สดใหม่ขึ้นมาใช้ได้ทันท่วงที ความจำเป็นในการสร้างอารยธรรมมนุษย์ยุคต่อไปจึงตกอยู่ที่มือครูนั่นเพราะ “มนุษย์เท่านั้นที่จะสอนความเป็นมนุษย์ได้” แต่ทั้งหมดนั้นครูเองจำเป็น ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด และเปลี่ยน กระบวนทัศน์ที่เป็นอยู่อย่างสิ้นเชิง 

  คำนำของท่าน นายแพทย์วิจารณ์ พานิช 

     ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนเป้าหมายการเรียนรู้ของศิษย์จากเน้นเรียนวิชาเพื่อได้ความรู้ ให้เลยไปสู่การพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อชีวิตในยุคใหม่ย้ำว่า การเรียนรู้ยุคใหม่ต้องเรียนให้เกิดทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ หน้าที่ของครูเพื่อศิษย์จึงต้องเปลี่ยนจากเน้น “สอน” หรือสั่งสอนไปทำหน้าที่จุดประกายความสนใจใฝ่รู้ (inspire) แก่ศิษย์ ให้ศิษย์ได้เรียนจากการลงมือปฏิบัติ (learning by doing) และศิษย์งอกงามทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ นี้จากการลงมือปฏิบัติของตนเป็นทีมร่วมกับเพื่อนนักเรียน เน้นการงอกงามทักษะในการเรียนรู้ และค้นคว้าหาความรู้มากกว่าตัวความรู้ ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแนวทางการทำงานจากทำโดดเดี่ยวคนเดียว เป็นทำงานและเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูเป็นทีมคือ รวมตัวกันเป็น ชร. คศ. นั่นเอง

             ขอสรุปและตั้งความหวังกับการทำหน้าที่ครูต่อไปในวันนี้และวันหน้าว่าจะพยายามหาวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ต้องทำงานเป็นทีม การจัดการสาระเป็นสาระหลักและสาระรวมที่เน้นทักษะกระบวนการ การปฏิบัติโครงงานที่บูรณาการองค์รวม (ที่จริงก็ทำมาแล้วแต่ไม่ได้รับการสนับสนุนที่แท้จริง)  หวังว่าครูกับชุมชนคงจะมีการทำงานที่สอดคล้องกันต่อไป เพื่อพัฒนาลูกหลานของชุมชนของท่าน

อ้างอิง : https://www.gotoknow.org/posts/494874

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น